Solar Cell สำหรับ โรงงาน
สำหรับอาคารที่มีโครงสร้างเป็น Warehouse หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการติดตั้ง Solar Cell บนหลังคาโรงงานจำเป็นต้องอาศัยการคำนวณที่ละเอียดขึ้นเพื่อให้ได้ระบบ Solar Cell ที่คุ้มค่าที่สุดในการลงทุน
On-Grid เป็นระบบที่นิยมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด เนื่องจากสามารถควบคุมงบประมาณการลงทุน และตอบสนองกับการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ซึ่งค่าไฟฟ้ามีราคาที่สูงตามระบบการคิดค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้า (On Peak / Off Peak)
การคำนวณขนาดติดตั้ง Solar Cell บนอาคาร หรือ โรงงานต้องใช้อะไรบ้าง
1. Bill ค่าไฟฟ้าย้อนหลัง 6 เดือน หรือ หากลูกค้าลงทะเบียนในระบบ AMR สามารถแจ้ง Username, Password เพื่อให้วิศวกรเข้าประเมินการใช้งานได้
2. หากไม่มี AMR ทาง SCN มีบริการตรวจวัดการใช้ไฟฟ้าด้วย Power Meter
3. ตำแหน่งของอาคาร ที่ต้องการติดตั้ง แผง Solar Cell (ลูกค้าส่งเป็นการ Share Location จะสะดวกที่สุด)
รูปแบบการติดตั้ง Solar Cell สำหรับ โรงงาน
1. การติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ด้วยรูปแบบ On-Grid เป็นระบบที่นิยมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด เนื่องจากสามารถควบคุมงบประมาณการลงทุน และตอบสนองการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่มีอัตราค่าไฟฟ้าที่มีราคาสูงหากใช้ไฟฟ้าในช่วง On Peak(09.00-22.00) ตามอัตรา TOU (Time of Use Rate) การติดตั้ง Solar Cell สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมากเนื่องจากไฟฟ้าจากระบบ Solar Cell จะผลิตได้เยอะสุดในช่วง 10:00 – 15:00 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในโรงงานทั่วๆไป
2. การติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ (Solar Floating) เป็นการติดตั้ง Solar Cell สำหรับลูกค้าที่มีบ่อน้ำ หรือ บ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ และ ต้องการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า โดยการติดตั้ง Solar Cell ระบบ Floating (ทุ่นลอยน้ำ) ต้องอาศัยการคำนวณ และ อาศัยทุ่นแบบพิเศษ สำหรับการติดตั้ง ซึ่งต้องใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์ บริษัทฯมีความพร้อมให้บริการในการคำนวณและติดตั้ง Solar ระบบ Floating ให้กับลูกค้าที่สนใจ
รูปแบบการลงทุน
Solar Cell ติดตั้งฟรี ใช้ไฟถูกลง PPA (Power Purchasing Agreement)
PPA สำหรับภาคเอกชน
PPA (Power Purchasing Agreement) เป็นระบบที่มีผู้ลงทุนให้ลูกค้า 100% และ ลูกค้าใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ Solar Cell ในราคาที่ถูกลง 10% - 30% เทียบกับราคาค่าไฟต่อหน่วยที่การไฟฟ้าเรียกเก็บ โดยมีการทำ สัญญากันระหว่าง 7-20 ปี ทั้งนี้ ในช่วงระยะสัญญาการล้างแผง และ ซ่อมบำรุงเป็นหน้าที่ของผู้ลงทุนทั้งหมด โดยหลังจากหมดสัญญาระบบที่ทำการติดตั้งทั้งหมดจะถูกยกให้เป็นของลูกค้า
PPA สำหรับภาครัฐบาล
การทำ ในรูปแบบ PPA เป็นที่สนใจอย่างมากสำ หรับหน่วยงานทั่วๆไป หรือ ลูกค้าที่ไม่ต้องการลงทุน และ อยากตัดความยุ่งยากในการซ่อมบำรุงและดูแลรักษาระบบออกไป ทำ ให้มีองค์กรทั้งภาคเอกชน และ รัฐบาล สอบถามเข้ามามากมายแต่เนื่องจากภาครัฐบาลติดปัญหาบางประการในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำ ให้ไม่สามารถ ดำเนินโครงการ PPA ได้เนื่องจากบริษัทฯ เป็นพันธมิตรกับหน่วยงานที่สามารถดำเนินการกับองค์กรภาครัฐฯให้ทำ PPA ได้ โดยไม่ติดเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างตามที่กล่าวมาข้างต้นโดยมีสิทธิประโยชน์ดังนี้
- ได้รับส่วนลด 15% - 20% เมื่อเทียบกับราคาค่าไฟต่อหน่วยที่การไฟฟ้าเรียกเก็บ
- สัญญา 20 ปี